เมนู

พ่อถูกความโศกครอบงำ เจ้าได้บรรเทาความ
โศกถึงบิดาเสียได้.
[710] พ่อเป็นผู้ถอนลูกศรคือความโศกออก
ได้แล้ว ปราศจากความเศร้าโศก หมดความ
มัวหมอง ลูกรัก พ่อจะไม่เศร้าโศก จะไม่
ร้องไห้ เพราะได้ฟังถ้อยคำของเจ้า.
[711] คนผู้มีปัญญา มีใจอนุเคราะห์ ย่อม
ทำบุคคลให้หลุดพ้นจากความเศร้าโศกได้
เหมือนกับพ่อสุชาตบุตรของเรา ทำเราผู้บิดา
ให้ล่วงพ้นจากความเศร้าโศก ฉะนั้น.

จบ สุชาตชาดกที่ 2

อรรถกถาสุชาตชาดกที่ 2


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
กฎุมพีผู้ที่บิดาตาย จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า กินฺนุ
สนฺตรมาโนว
ดังนี้.
ได้ยินว่า กุฎุมพีนั้น เมื่อบิดาตายแล้ว เที่ยวปริเทวนาการ
ร่ำไร ไม่อาจบรรเทาความโศกได้. ลำดับนั้น พระศาสดาทรงเห็น
อุปนิสัยโสดาปัตติผลของกุฎุมพีนั้น ทรงพาปัจฉาสมณะเสด็จเที่ยว

บิณฑบาตในนครสาวัตถี เสด็จไปถึงเรือนของกุฎุมพีนั้น ประทับนั่ง
บนอาสนะที่เขาปูลาดไว้แล้ว จึงตรัสกะกุฎุมพีนั้นผู้นมัสการแล้วนั่งอยู่
ว่า อุบาสก ท่านเศร้าโศกหรือ เมื่อกุฎุมพีนั้นกราบทูลว่า พระเจ้าข้า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จึงตรัสว่า อาวุโส โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย
ฟังถ้อยคำของบัณฑิตทั้งหลายแล้ว เมื่อบิดาตาย ไม่เศร้าโศกเลย อัน
กุฎุมพีนั้นทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อ
ไปนี้ :-
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร-
พาราณสี พระโพธิสัตว์ได้บังเกิดในเรือนของกุฎุมพี ญาติทั้งหลาย
ตั้งชื่อของพระโพธิสัตว์นั้นว่า สุชาตกุมาร. เมื่อสุชาตกุมารนั้นเจริญ
วัยแล้ว ปู่ได้กระทำกาลกิริยาตายไป ลำดับนั้น บิดาของสุชาตกุมาร
นั้นก็เพียบพูนด้วยความโศก จำเดิมแต่บิดากระทำกาลกิริยา จึงไปยัง
ป่าช้า นำกระดูกมาจากป่าช้า สร้างสถูปดินไว้ในสวนของตน แล้ว
ฝังกระดูกเหล่านั้นไว้ในสวนนั้น ในเวลาที่ผ่านไป ๆ ได้บูชาสถูปด้วย
ดอกไม้ทั้งหลาย เดินเวียนเจดีย์ร่ำไรอยู่ ไม่อาบน้ำ ไม้ลูบไล้ ไม่
บริโภค ไม่จัดแจงการงานทั้งปวง. พระโพธิสัตว์เห็นดังนั้นจึงคิดว่า
บิดาของเรา จำเดิมแต่เวลาที่ปู่ตายไปแล้ว ถูกความโศกครอบงำอยู่
ไม่รู้วาย ก็เว้นเราเสีย ผู้อื่นไม่สามารถจะทำบิดาเรานั้นให้รู้สึกตัวได้
เราจักกระทำบิดานั้นให้หมดความโศก ด้วยอุบายอย่างหนึ่ง ได้เห็น
โคตายตัวหนึ่งที่ภายนอกบ้าน จึงนำหญ้าและน้ำดื่มมาวางไว้ข้างหน้า

โคตายตัวนั้นแล้วพูดว่า จงกิน จงกิน จงดื่ม จงดื่ม. พวกคนที่ผ่าน
มา ๆ เห็นดังนั้น พากันกล่าวว่า สุชาตะผู้สหาย ท่านเป็นบ้าไปแล้ว
หรือ ท่านจึงให้หญ้าและน้ำแก่โดยตาย. สุชาตกุมารนั้นไม่ได้กล่าว
ตอบอะไร ๆ. ลำดับนั้น ชนทั้งหลายจึงพากันไปยังสำนักแห่งบิดาของ
สุชาตกุมารนั้นแล้วกล่าวว่า บุตรของท่านเป็นบ้าไปแล้ว ให้หญ้าและ
น้ำแก่โคตาย. เพราะได้ฟังคำของชนทั้งหลายนั้น ความโศกเพราะ
บิดาของกฎุมพีก็หายไป ความโศกเพราะบุตรกลับดำรงอยู่. กุฎุมพี
นั้นจึงรีบมาแล้วกล่าวว่า พ่อสุชาตะ เจ้าเป็นบัณฑิตมิใช่หรือ เพราะ
เหตุไร จึงให้หญ้าและน้ำแก่โคตาย แล้วได้กล่าวคาถา 2 คาถาว่า :-
เหตุไรหนอ เจ้าจึงเป็นเหมือนรีบด่วน
เกี่ยวเอาหญ้าอันเขียวสดมาแล้ว บ่นเพ้อถึง
วัวแก่ผู้ปราศจากชีวิตว่า จงเคี้ยวกิน ๆ วัวที่
ตายแล้วจะพึงลุกขึ้นได้เพราะหญ้าและน้ำ
เป็นไม่มีแน่ เจ้าบ่นเพ้อไปเปล่า ๆ เหมือน
คนผู้ไร้ความคิด ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺตรมาโนว ความว่า เป็น
เสมือนรีบด่วน. บทว่า ลายิตฺวา แปลว่า เกี่ยวแล้ว. บทว่า วิลปิ
แปลว่า บ่นเพ้อแล้ว. บทว่า คตสนฺตํ ชรคฺควํ ได้แก่ โคแก่
ที่ปราศจากชีวิต. บทว่า ตํ ในบทว่า ยถาตํ เป็นเพียงนิบาต.

อธิบายว่า คนผู้ไม่มีความคิด คือมีปัญญาน้อย พึงบ่นเพ้อไป ฉันใด
เจ้าก็บ่นเพ้อไปเปล่า ๆ คือไม่เป็นจริงได้ ฉันนั้น.
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ได้กล่าวคาถา 2 คาถาว่า :-
ศีรษะ เท้าหน้า เท้าหลัง หางและหู
ของวัว ยังตั้งอยู่อย่างนั้นตามเดิม ผมเข้าใจ
ว่า วัวตัวนี้จะพึงลุกขึ้นได้ ศีรษะหรือมือ
และเท้าของคุณปู่มิได้ปรากฏเลย คุณพ่อ
นั่นเองมาร้องไห้อยู่ที่สถูปดิน เป็นคนไร้ความ
คิดมิใช่หรือ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตเถว ความว่า ยังตั้งอยู่เหมือน
ดังตั้งอยู่ในครั้งก่อน. บทว่า มญฺเญ ความว่า ผมเข้าใจว่า โค
ตัวนี้จะลุกขึ้น เพราะอวัยวะมีศีรษะเป็นต้น เหล่านั้นยังตั้งอยู่เหมือน
เดิมอย่างนั้น. บทว่า เนวยฺยกสฺส สีสํ ความว่า ส่วนศีรษะหรือ
หรือและเท้าของคุณปู่มิได้ปรากฏ. บาลีว่า ปิฏฺฐิปาทา น ทิสฺสเร
ดังนี้ก็มี. บทว่า นนุ ตฺวญฺเญว ทุมฺมติ ความว่า เบื้องต้น ผม
เห็นศีรษะเป็นต้นอยู่จึงกระทำอย่างนั้น ส่วนคุณพ่อไม่เห็นอะไรเลย
เพราะเทียบกับผมแล้ว คุณพ่อนั้นแหละเป็นผู้ไร้ความคิดตั้งร้อยเท่า
พันเท่า มิใช่หรือ. เพราะเหตุนั้น สังขารทั้งหลายชื่อว่ามีการแตกไป
เป็นธรรมดา ย่อมแตกไป จะมัวร่ำไรอะไรในข้อนั้น.

บิดาของพระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้นจึงคิดว่า บุตรของเราเป็น
บัณฑิต รู้กิจในโลกนี้และโลกหน้า ได้กระทำกรรมนี้เพื่อต้องการให้
เรารู้ได้เอง จึงกล่าวว่า พ่อสุชาตผู้บัณฑิต พ่อรู้แล้วว่าสังขารทั้งปวง
ไม่เที่ยง ตั้งแต่นี้ไปพ่อจักไม่เศร้าโศก ชื่อว่าบุตรผู้นำความโศกของ
บิดาออกไปได้ พึงเป็นเช่นตัวเจ้า เมื่อจะทำการชมเชยบุตร จึงกล่าว
ว่า :-
เจ้ารดพ่อผู้เดือดร้อนยิ่งนักให้หายร้อน
ทำความกระวนกระวายของพ่อให้ดับได้หมด
สิ้น เหมือนบุคคลเอาน้ำรดไฟที่ติดเปรียงให้
ดับไปฉะนั้น เจ้ามาถอนลูกศรคือความโศกที่
เสียบแน่นอยู่ในหทัยของพ่อออกได้แล้วหนอ
เมื่อพ่อถูกความโศกครอบงำ เจ้าได้บรรเทา
ความโศกถึงบิดาเสียได้.
พ่อเป็นผู้ถอนลูกศรคือความโศกออก
ได้แล้ว ปราศจากความเศร้าโศก หมดความ
มัวหมอง ลูกรัก พ่อจะไม่เศร้าโศก จะไม่
ร้องไห้ เพราะได้ฟังคำของเจ้า.
คนผู้มีปัญญา มีใจอนุเคราะห์ ย่อม
ทำบุคคลให้หลุดพ้นจากความเศร้าโศกได้

เหมือนกับพ่อสุชาตบุตรของเรา ทำเราผู้บิดา
ให้หลุดพ้นความโศก ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิพฺพาปเย แปลว่า ให้ดับแล้ว.
บทว่า ทรํ ได้แก่ ความกระวนกระวาย เพราะความโศก. บทว่า
สุชาโต ปิตรํ ยถา ความว่า พ่อสุชาตบุตรของเรา ทำเราผู้เป็น
บิดาให้พ้นจากความโศก เพราะความที่ตนเป็นผู้มีปัญญา ฉันใด
แม้คนอื่นผู้มีปัญญา ก็ย่อมทำคนอื่นให้หลุดพ้นจากความเศร้าโศก
ฉันนั้น.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึง
ทรงประกาศสัจจะทั้งหลาย แล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ
กุฎุมพีก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. ส่วนสุชาตกุมารในครั้งนั้น ได้เป็น
เราตถาคต ฉะนั้นแล.
จบ อรรถกถาสุชาตชาดกที่ 2

3. เวนสาขชาดก


ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว


[712] ดูก่อนพรหมทัตกุมาร ความเกษม
สำราญ ภิกษาหารหาได้ง่ายและความเป็นผู้
สำราญกายนี้ ไม่พึงมีตลอดกาลเป็นนิตย์
เมื่อประโยชน์ของตนสิ้นไป ท่านอย่าเป็นผู้
ล่มจมเสียเลยเหมือนคนเรือแตก ไม่ได้ที่
พึ่งอาศัย ต้องจมอยู่ในท่ามกลางทะเล
ฉะนั้น.
[713] บุคคลทำกรรมใด ย่อมมองเห็นกรรม
นั้นในตน ผู้ทำกรรมดีย่อมได้ผลดี ผู้ทำ
กรรมชั่วย่อมได้ผลชั่ว บุคคลหว่านพืชเช่น
ใด ผลย่อมงอกขึ้นเช่นนั้น.
[714] ปาจารย์ได้กล่าวคำใดไว้ว่า ท่านอย่า
ได้ทำบาปกรรมที่ทำแล้วจะทำให้เดือดร้อน
ในภายหลังเลย คำนั้นเป็นคำสอนของ
อาจารย์เรา.
[715] ปิงคิยปุโรหิตนั้น ย่อมบ่นเพ้อแสดง
ต้นไทรนี้ว่ามีกิ่งแผ่ไพศาล สามารถให้ความ